ตอนที่ 3
พวกผู้ใหญ่เล่าว่าเมื่อฉันเกิด ป๋าถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่สองติดต่อกันถึงสองงวด ฉันจึงมีของเล่นดี ๆ มากมาย เมื่อจำความได้ฉันเห็นผู้ใหญ่เอาของเล่นเก่า ๆ ของฉันใส่ลังไว้เป็นลัง ๆ เด็กส่วนใหญ่ในสมัยนั้นจะทำของเล่นเองหรือเก็บเอาของเหลือใช้ต่าง ๆ มาทำเป็นของเล่น ของเล่นดังกล่าวจะเล่นกันเป็นหน้า ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอะไรที่เล่นได้เสียกันโดยใช้ของนั้นเป็นเสมือนหนึ่งสตางค์ เช่น ไพ่รูปการ์ตูนต่าง ๆ ฝาเบียร์ (ฝาน้ำอัดลม) ซองบุหรี่ หนังสติ๊ก ลูกหิน และลูกข่าง เป็นต้น ที่ดูคล้ายสตางค์มากที่สุดน่าจะเป็นซองบุหรี่ ซองบุหรี่แต่ละยี่ห้อจะมีมูลค่าต่างกันออกไป เช่นบุหรี่เกล็ดทองจะมีค่า 100 บุหรี่พระจันทร์ 200 กรุงทอง 500 และบุหรี่นอกทุกยี่ห้อจะมีมูลค่าถึง 1,000 แต่ที่มีมูลค่าสูงสุดคือบุหรี่ตราฆ้องซึ่งมีมูลถึง 10,000 มูลค่าที่ว่านี้ เป็นมูลค่าที่ใช้ชำระหนี้ในวงเด็กเมื่อถึงหน้าซองบุหรี่ มูลค่าที่ซื้อขายกันจริง ๆ คือ พันละ 1 สลึงซึ่งถือว่ามีค่ามากเนื่องจากสมัยนั้นมี 50 สตางค์ก็สามารถซื้อก๋วยจั๋บเจ้าอร่อยในตลาดกินได้แล้ว ซองบุหรี่นั้นก่อนจะนำมาเล่นต้องพับให้เรียบตามแบบแผนที่กำหนดไว้เสียก่อนและใช้ผ่านมือเด็ก ๆ จนบางซองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีราคาสูงและหายากมีสภาพเก่าเหมือนธนบัตรเก่า ๆ เลยที่เดียว
ส่วนฝาเบียร์คือฝาปิดขวดน้ำอัดลม โซดา หรือ เบียร์ นับเป็นของเล่นที่หามาสะสมได้ไม่ยากนักแต่ต้องอาศัยความไวเนื่องจากต้องค่อย ๆ ย่องเข้าไปหยิบเอาตามร้านขายอาหารหรือร้านกาแฟซึ่งนิยมนำเอากระป๋องมารองฝาเบียร์ไว้ใต้ที่เปิดขวดเมื่อมีคนสั่งน้ำขวดก็จะนำขวดมาเปิดแล้วปล่อยให้ฝาขวดน้ำอัดลมหรือโซดาตกลงมารวมกันอยู่ในกระป๋องนั้นโดยไม่พยายามให้เป็นที่สังเกตของเจ้าของร้านหรือคนในร้าน นอกนิยมนำมาเล่น “กดคว่ำกดหงาย” โดยที่คู่แข่งขันนำฝาเบียร์มารวมกันตามจำนวนที่ตกลงเช่นทีละ 5 ฝา หรือ 10 ฝา แล้วเสี่ยงทายโดยการ “เป่ายิ้งฉุบ” เพื่อหาผู้เล่นก่อน หากมีผู้เล่นมากกว่าสองคนก็จะเสี่ยงทายกันโดยการ “โอน้อยออก” หรือ “โอผิดมนุษย์เป็น” การเสี่ยงทายทั้งสามแบบเป็นการเสี่ยงทายเพื่อหาผู้ชนะในเบื้องต้นก่อนที่จะเล่นเกมอื่น ๆ ต่อไป เหมือนการโยนหัวโยนก้อยก่อนการแข่งขันในสมัยนี้ การ “เป่ายิ้งฉุบ” คือการที่ผู้เล่นร้องคำว่า “เป่ายิ้งฉุบ” พร้อม ๆ กันเมื่อสิ้นเสียงร้องให้ออกมือเป็นสัญลักษณ์ซึ่งมีสามแบบคือ “ค้อน” โดยการกำมือเป็นกำปั้น “กรรไก” คือการชูเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลางให้กางแยกออกจากกันพองามดูเหมือนตัววีในภาษาอังกฤษ และ “กระดาษ” คือการแบมือ กติกาคือ ค้อนแพ้กระดาษ (กระดาษห่อค้อน) กรรไกแพ้ค้อน (ค้อนทุบกรรไก) กระดาษแพ้กรรไก (กรรไกตัดกระดาษ) การ “โอน้อยออก” คือการที่ผู้เล่นยืนหรือนั่งล้อมวงกันแล้วร้องพร้อม ๆ กันว่า “โอน้อยออก” เมื่อสิ้นเสียงร้องให้ผู้เล่นแบมือมาข้างหน้าอย่างพร้อมเพรียงกัน จะมีผู้ที่คว่ำหรือหงายมือไม่เท่ากัน พวกที่อยู่ในกลุ่มที่มีจำนวนน้อยกว่าต้องออกจากการเล่นไป ผู้ที่เหลือก็จะเล่นซ้ำไปจนเหลือผู้เล่นแค่สองคนแล้วจึงใช้วิธี เป่ายิ้งฉุบเพื่อหาผู้ชนะคนสุดท้าย การเล่น “โอผิดมนุษย์เป็น” นั้นคล้ายคลึงกับการเล่นโอน้อยออก ต่างกันที่จะต้องหาคนที่หงายหรือคว่ำมือแต่เพียงผู้เดียวจากผู้เล่นทั้งหมดคือผู้ที่คว่ำหรือหงายมือเพียงคนเดียวในวงซึ่งใช้เวลานานกว่าจะได้ผู้ชนะ
การเล่นอีกประเภทหนึ่งที่ใช้สัญญาณมือเพื่อเอาแพ้ชนะกันคือการเล่นที่เรียกว่า “พระเด็กเสือไก่มอด” ให้ผู้เล่นเอามือจับหูตัวเองไว้แล้วร้องว่า “พระเด็กเสือไก่มอด” พร้อม ๆ กันแล้วออกสัญลักษณ์ดังนี้ นิ้วโป้ง แทน พระ นิ้วชี้ แทน เด็ก นิ้วกลาง แทน เสือ นิ้วนาง แทน ไก่ และ นิ้วก้อย แทน มอด กติกาคือ เด็กแพ้พระ (พระตีเด็ก) พระ ไก่ และเด็ก แพ้เสือ (เสือกินเด็ก ไก่ และพระ) ไก่ชนะมอด (ไก่จิกมอด) มอดชนะพระและเสือ (มอดไชจีวรพระและไชหางเสือ)
กลับมาที่การเล่นกดคว่ำกดหงาย ผู้เล่นจะโปรยฝาเบียร์ทั้งหมดลงบนพื้น พวกฝาที่หงายก็ใช้นิ้วกดให้พลิกคว่ำ ฝาที่คว่ำอยู่ก็ต้องใช้นิ้วกดให้หงาย หากพลิกได้ผู้พลิกก็จะได้ฝานั้นเป็นกรรมสิทธิ์และสามารถพลิกต่อไปเรื่อย ๆ จนพลิกไม่ได้จึงถือว่า “ตาย” ต้องผลัดให้คู่ต่อสู้เป็นคนพลิกบ้าง นอกจากนั้นแล้วฝาเบียร์ยังสามารถนำไปทำเป็นของเล่นอีกอย่างหนึ่งคือ “จักรปั่น” วิธีทำคือนำเอาฝาเบียร์ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ฝาโซดาตราสิงห์เนื่องจากมีสีขาวแถมยังมีรูปสิงห์สวยกว่าฝาน้ำอัดลมชนิดอื่นมาทุบแผ่ออกให้แบนเรียบ ทั้งนี้ต้องลอกเอาไม้ก๊อกซึ่งติดไว้ด้านหลังฝาออกจนหมด หากทุบแล้วยังเห็นว่าไม่เรียบพอให้นำเอาฝาเบียร์ที่ทุบแล้วไปวางให้รถรางทับอีกทีหนึ่งก็จะเรียบสนิท เจาะรูเล็ก ๆ สองรูบริเวณกึ่งกลางของฝาและนำเชือกป่านเส้นเล็ก ๆ มาร้อยเข้าเป็นวง วิธีเล่นให้หมุนเชือกซึ่งคล้องไว้ที่หัวแม่มือทั้งสองข้างจนเชือกขมวดเป็นเกลียวแล้วจึงดึงเชือกเข้าออกอันจะทำให้ฝาเบียร์ที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของเชือกนั้นหมุนปั่นอย่างรวดเร็ว นอกจากปั่นจักรปั่นเล่นสนุก ๆ แล้ว ยังสามารถนำมาตัดกันได้อีกด้วย การเล่นแบบนี้จำเป็นต้องลับฝาเบียร์ให้มีคมเด็กบางคนที่มีฝีมือก็บรรจงตัดขอบฝาเบียร์ให้เป็นจักรคล้าย ๆ กันกงจักรแล้วจึงนำมาตัดกันของใครที่ถูกจักรของอีกฝ่ายหนึ่งตัดจนเชือกขาดถือ ว่าแพ้
พูดถึงรถรางแล้วคิดว่าเด็กสมัยนี้คงนึกภาพไม่ออกว่าเป็นเช่นไร บ้านที่ฉันอยู่ในวัยเด็กมีรถรางวิ่งผ่านถนนหน้าบ้าน รถรางนี้วิ่งไปมาบนรางเหล็กด้วยพลังมอเตอร์ไฟฟ้า บนหลังคารถรางมีเสากระโดงที่มีลูกรอกเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายเสาเพื่อให้ระไปกับสายไฟฟ้าเพื่อรับพลังไฟฟ้า คนขับรถรางหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารจะนำเสากระโดงซึ่งหมุนได้รอบตัวรถนี้ต่อเข้ากับสายไฟฟ้าเหนือหลังคาเพื่อรับไฟฟ้าไปหมุนมอเตอร์อีกทีหนึ่ง รถรางเป็นรถที่ออกแบบมาเป็นรถที่ไม่มีหัวไม่มีท้ายคือให้สามารถวิ่งไปข้างหน้าและวิ่งย้อนกลับไปอีกทางได้โดยจะมีเครื่องควบคุมประกอบด้วยเครื่องเร่งความเร็วและเบรกสำหรับหยุดรถติดตั้งไว้ทั้งบริเวณหัวและท้ายของตัวรถข้างละหนึ่งชุด เมื่อรถรางวิ่งไปจนสุดสาย คนขับหรือกระเป๋าก็จะวิ่งไปสาวเชือกที่ผูกเสากระโดงรับไฟเพื่อดึงเสากระโดงออกจากสายไฟแล้ววิ่งอ้อมตัวรถเอาปลายเสากระโดงตรงที่เป็นลูกรอกไปวางต่อเข้ากับสายไฟทางอีกด้านหนึ่ง ตรงส่วนหัวของเสากระโดงบนหลังคารถที่ว่านี้จะมีสปริงซึ่งเมื่อปล่อยสายเชือกที่ผูกไว้แล้วจะดันตัวเสากระโดงให้สนิทแนบไปกับสายไฟไม่เลื่อนหลุดออกมาได้โดยง่าย แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีอุบัติเหตุเสากระโดงหลุดออกจากสายไฟให้เห็นได้อยู่เนื่อง ๆ เมื่อโยกเสากระโดงสายไฟเรียบร้อยแล้ว คนขับก็เพียงแต่ถอดคันบังคับเร่งความเร็วที่ออกแบบไว้ให้ถอดใส่ได้โดยง่ายแล้วเดินไปเสียบคันบังคับนั้นเข้ากับหน่วยเร่งความเร็วที่อยู่อีกด้านหนึ่งของตัวรถ เพียงเท่านี้รถรางคันนั้นก็สามารถวิ่งกลับข้างย้อนศรไปอีกทางหนึ่งได้ในทันที ส่วนหน่วยห้ามล้อหรือเบรกนั้นไม่ต้องย้าย เพราะมีติดตั้งเป็นการถาวรไว้ทั้งสองด้านอยู่แล้ว
ตัวรถรางสร้างด้วยไม้ทาสีเหลืองสลับแดง มีสองประเภทคือประเภทรถเปิดหน้า กับประเภทรถ “อ้ายโม่ง” ส่วนใหญ่เป็นรถเปิดหน้าคือไม่มีกระบังลมบริเวณหน้ารถ ส่วนรถอ้ายโม่งนั้นมีกระบังลมปิดมิดชิดกันแดดกันฝนได้ดีกว่า ส่วนใหญ่แล้วรถรางจะวิ่งพ่วงกันสองคัน ในแต่ละคันแบ่งออกเป็นสองชั้นคือชั้นหนึ่งกับชั้นสอง ที่นั่งชั้นหนึ่งจะอยู่บริเวณหน้ารถ แตกต่างกับชั้นสองคือมีเบาะรองนั่ง ชั้นสองไม่มีเบาะ ค่าโดยสารรถรางชั้นหนึ่งสมัยนั้นคือ 30 สตางค์ตลอดสาย ส่วนชั้นสองเก็บเพียง 25 สตางค์หรือที่เรียกว่า 1 สลึง สมัยนั้นนิยมเรียกเงินเศษหนึ่งในสี่ของบาทเป็นสลึง เช่น 1 สลึง 2 สลึง และ 3 สลึงซึ่งนอกจากจะหมายถึงเงินมูลค่า 75 สตางค์แล้วยังหมายถึงคนที่มีสติไม่ดีอีกด้วย สมัยนั้นนิยมเรียกคนสติไม่ดีว่าคนสามสลึงหรือคนไม่เต็มบาท คนขับรถรางและคนเก็บค่าโดยสารล้วนเป็นชายที่ค่อนข้างจะมีอายุ แต่งเครื่องแบบสีกากีเรียบร้อยแถมใส่หมวกหนีบสีเดียวกัน คนเก็บค่าโดยสารจะมีกระเป๋าสี่เหลี่ยมทำด้วยหนังห้อยพาดบ่าไว้เป็นที่ใส่กระบอกตั๋วและเงินค่าโดยสารที่เก็บได้ เข้าใจว่ากระเป๋านี้เองที่กลายมาเป็นคำเรียกคนเก็บค่าโดยสารรถเมล์ในภายหลัง
ที่ถือเป็นของแถมในการนั่งรถรางและมีชุกชุมทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสองคือสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “ตัวเรือด” เด็ก ๆ ที่นุ่งกางเกงขาสั้นนั่งรถรางเป็นต้องถูกตัวเรือดกัดกินเลือดจนขาอ่อนด้านหลังแดงเป็นปื้นไปตาม ๆ กัน รถรางจะวิ่งไปตามรางโดยมีจุดกำหนดให้รถขาขึ้นและขาล่องวิ่งสวนกันได้เรียกว่า “หลีก” ในสมัยนั้นยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมความเร็วของรถได้เหมือนรถไฟฟ้าในสมัยนี้ รถรางที่วิ่งขึ้นล่องสวนทางกันจึงมักมีความเร็วไม่ประสานคงที่กัน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รถขาขึ้นหรือล่องจะต้องจอด “รอหลีก” จนกว่ารถอีกขาหนึ่งจะวิ่งสวนมา คนที่นั่งรถรางในสมัยก่อนจึงต้องเป็นคนที่ใจเย็นและมีความอดทนสูง สามารถนั่งหรือยืนรถรอหลีกได้เป็นระยะเวลานาน ๆ
เวลารถรางวิ่งเข้าหลีกจะมีเสียงรางเหล็กที่เป็นข้อต่อดัง “ก๊ง ๆ” เด็ก ๆ อย่างพวกฉันนอกจากจะเล่นสนุกกับรถรางด้วยการวิ่งไล่เกาะรถรางที่ชะลอความเร็วเพื่อเข้าหลีกแล้ว ยังใช้รถรางเป็นเครื่องมือในการทำของเล่นเช่นทับฝาเบียร์ และทับห่อแก้วเพื่อนำไปทำป่านคมเก็บไว้เล่นว่าวในหน้าว่าวได้อีกด้วย ป้ายรถรางทำด้วยเหล็กเป็นรูปธงสามเหลี่ยมทาสีแดงสดมีสัญลักษณ์เป็นดาวสีขาวอยู่ตรงกลางติดไว้กับเสาไฟฟ้าในระดับสูงจากพื้นดินราวสามเมตร รถรางเป็นรถที่ไม่มีแตรแต่จะใช้กระดิ่งขนาดใหญ่เสียงดัง “เป๊ง ๆ” แทน คนขับจะใช้เท้าเหยียบกระเดื่องเพื่อไปตีกระดิ่งที่ติดตั้งไว้ใต้ตัวรถอีกทีหนึ่ง ด้วยความซุกซนเด็ก ๆ จะแอบมุดเข้าไปใต้รถรางที่จอดรอหลีกอยู่แล้วดึงกระดิ่งแล้วพากันวิ่งหนีเป็นที่สนุกสนาน เด็กคนใดที่กล้ากระทำการดังกล่าวจะถือว่าเป็นผู้กล้าหาญและจะได้รับการยกย่องยินดีจากเด็กอื่นในกลุ่มในความเก่งกล้าสามารถนั้น
ส่วนรถเมล์ในสมัยก่อนนั้นมีไม่มากสายเหมือนในสมัยนี้ ทั้งหมดเป็นของเอกชน ที่มีมากและที่เห็นกันจนเจนตาที่สุดคงจะเป็น รถเมล์ขาวหรือรถเมล์ “นายเลิศ” ตัวรถมีสีขาว คนขับและกระเป๋าก็ใส่เครื่องแบบสีขาวสะอาดตา คนสมัยนั้นจะเรียกรถเมล์ตามสีของรถ เช่น รถเมล์ขาว รถเมล์แดง รถเมล์เขียว รถเมล์เหลือง หรือ รถเมล์เทา เป็นต้น บรรยากาศในการนั่งรถเมล์จะเล่าให้ฟังในภายหลัง
จากคุณ : แมงกะพรุน - [18 เม.ย. 45 04:27:48]
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นเรื่องที่มีสาระมาก มีคุณค่าในตัวเอง มองเห็นเงาอดีตชัดเจน รออ่านตอนต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ
จากคุณ : GTW - [18 เม.ย. 45 10:57:56]
ความคิดเห็นที่ 2
อ่านแล้วทำให้นึกถึงสมัยเด็กๆ จังเลยค่ะ อย่างเกมโอน้อยออก ไม่รู้ว่าเด็กสมัยนี้จะรู้จักกันหรือเปล่า แต่ก็เกิดไม่ทันรถราง รถเมล์นายเลิศค่ะ ได้ยินแต่แม่เล่าให้ฟัง ^_^
ทำลิงก์ตอนแรกให้ค่ะ
http://pantip.inet.co.th/cafe/writer/topic/W1436965/W1436965.html
จากคุณ : O-HO - [18 เม.ย. 45 11:22:19]
ความคิดเห็นที่ 3
ชอบความเรียงนี้มากค่ะ รออ่านต่อนะคะ (นึกถึงหมี่ผัดใส่กระทงใบตองสมัยเป็นเด็กจัง ห่อละบาทหรือห้าสิบสตางค์นี่แหละค่ะ แล้วก็นึกถึงฝาเบียร์ ฝาน้ำอัดลมด้วย แต่เราเก็บไว้เล่นหมากฮอส อิอิ )
จากคุณ njl - [18 เม.ย. 45 12:55:10]
ความคิดเห็นที่ 4
มีนางเงือกน้อยด้วยอ่ะ เคยเล่นป่ะคะ เก่งจังเลยนะคะ ยังจำตอนเด็กๆ ได้อีก ตอนนี้เรายังลืมๆ ไปแล้วเลย นานๆ จะได้นึกขึ้นมาได้ที : )
จากคุณ : monki - [18 เม.ย. 45 19:46:23]
ความคิดเห็นที่ 5
อ่านแล้วนึกถึงตอนยังเป็น เดะเละๆอยู่
จากคุณ : Licht (Miran) - [18 เม.ย. 45 19:59:11]
กลับมาที่การเล่นกดคว่ำกดหงาย ผู้เล่นจะโปรยฝาเบียร์ทั้งหมดลงบนพื้น พวกฝาที่หงายก็ใช้นิ้วกดให้พลิกคว่ำ ฝาที่คว่ำอยู่ก็ต้องใช้นิ้วกดให้หงาย หากพลิกได้ผู้พลิกก็จะได้ฝานั้นเป็นกรรมสิทธิ์และสามารถพลิกต่อไปเรื่อย ๆ จนพลิกไม่ได้จึงถือว่า “ตาย” ต้องผลัดให้คู่ต่อสู้เป็นคนพลิกบ้าง นอกจากนั้นแล้วฝาเบียร์ยังสามารถนำไปทำเป็นของเล่นอีกอย่างหนึ่งคือ “จักรปั่น” วิธีทำคือนำเอาฝาเบียร์ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ฝาโซดาตราสิงห์เนื่องจากมีสีขาวแถมยังมีรูปสิงห์สวยกว่าฝาน้ำอัดลมชนิดอื่นมาทุบแผ่ออกให้แบนเรียบ ทั้งนี้ต้องลอกเอาไม้ก๊อกซึ่งติดไว้ด้านหลังฝาออกจนหมด หากทุบแล้วยังเห็นว่าไม่เรียบพอให้นำเอาฝาเบียร์ที่ทุบแล้วไปวางให้รถรางทับอีกทีหนึ่งก็จะเรียบสนิท เจาะรูเล็ก ๆ สองรูบริเวณกึ่งกลางของฝาและนำเชือกป่านเส้นเล็ก ๆ มาร้อยเข้าเป็นวง วิธีเล่นให้หมุนเชือกซึ่งคล้องไว้ที่หัวแม่มือทั้งสองข้างจนเชือกขมวดเป็นเกลียวแล้วจึงดึงเชือกเข้าออกอันจะทำให้ฝาเบียร์ที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของเชือกนั้นหมุนปั่นอย่างรวดเร็ว นอกจากปั่นจักรปั่นเล่นสนุก ๆ แล้ว ยังสามารถนำมาตัดกันได้อีกด้วย การเล่นแบบนี้จำเป็นต้องลับฝาเบียร์ให้มีคมเด็กบางคนที่มีฝีมือก็บรรจงตัดขอบฝาเบียร์ให้เป็นจักรคล้าย ๆ กันกงจักรแล้วจึงนำมาตัดกันของใครที่ถูกจักรของอีกฝ่ายหนึ่งตัดจนเชือกขาดถือ ว่าแพ้
พูดถึงรถรางแล้วคิดว่าเด็กสมัยนี้คงนึกภาพไม่ออกว่าเป็นเช่นไร บ้านที่ฉันอยู่ในวัยเด็กมีรถรางวิ่งผ่านถนนหน้าบ้าน รถรางนี้วิ่งไปมาบนรางเหล็กด้วยพลังมอเตอร์ไฟฟ้า บนหลังคารถรางมีเสากระโดงที่มีลูกรอกเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายเสาเพื่อให้ระไปกับสายไฟฟ้าเพื่อรับพลังไฟฟ้า คนขับรถรางหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารจะนำเสากระโดงซึ่งหมุนได้รอบตัวรถนี้ต่อเข้ากับสายไฟฟ้าเหนือหลังคาเพื่อรับไฟฟ้าไปหมุนมอเตอร์อีกทีหนึ่ง รถรางเป็นรถที่ออกแบบมาเป็นรถที่ไม่มีหัวไม่มีท้ายคือให้สามารถวิ่งไปข้างหน้าและวิ่งย้อนกลับไปอีกทางได้โดยจะมีเครื่องควบคุมประกอบด้วยเครื่องเร่งความเร็วและเบรกสำหรับหยุดรถติดตั้งไว้ทั้งบริเวณหัวและท้ายของตัวรถข้างละหนึ่งชุด เมื่อรถรางวิ่งไปจนสุดสาย คนขับหรือกระเป๋าก็จะวิ่งไปสาวเชือกที่ผูกเสากระโดงรับไฟเพื่อดึงเสากระโดงออกจากสายไฟแล้ววิ่งอ้อมตัวรถเอาปลายเสากระโดงตรงที่เป็นลูกรอกไปวางต่อเข้ากับสายไฟทางอีกด้านหนึ่ง ตรงส่วนหัวของเสากระโดงบนหลังคารถที่ว่านี้จะมีสปริงซึ่งเมื่อปล่อยสายเชือกที่ผูกไว้แล้วจะดันตัวเสากระโดงให้สนิทแนบไปกับสายไฟไม่เลื่อนหลุดออกมาได้โดยง่าย แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีอุบัติเหตุเสากระโดงหลุดออกจากสายไฟให้เห็นได้อยู่เนื่อง ๆ เมื่อโยกเสากระโดงสายไฟเรียบร้อยแล้ว คนขับก็เพียงแต่ถอดคันบังคับเร่งความเร็วที่ออกแบบไว้ให้ถอดใส่ได้โดยง่ายแล้วเดินไปเสียบคันบังคับนั้นเข้ากับหน่วยเร่งความเร็วที่อยู่อีกด้านหนึ่งของตัวรถ เพียงเท่านี้รถรางคันนั้นก็สามารถวิ่งกลับข้างย้อนศรไปอีกทางหนึ่งได้ในทันที ส่วนหน่วยห้ามล้อหรือเบรกนั้นไม่ต้องย้าย เพราะมีติดตั้งเป็นการถาวรไว้ทั้งสองด้านอยู่แล้ว
ตัวรถรางสร้างด้วยไม้ทาสีเหลืองสลับแดง มีสองประเภทคือประเภทรถเปิดหน้า กับประเภทรถ “อ้ายโม่ง” ส่วนใหญ่เป็นรถเปิดหน้าคือไม่มีกระบังลมบริเวณหน้ารถ ส่วนรถอ้ายโม่งนั้นมีกระบังลมปิดมิดชิดกันแดดกันฝนได้ดีกว่า ส่วนใหญ่แล้วรถรางจะวิ่งพ่วงกันสองคัน ในแต่ละคันแบ่งออกเป็นสองชั้นคือชั้นหนึ่งกับชั้นสอง ที่นั่งชั้นหนึ่งจะอยู่บริเวณหน้ารถ แตกต่างกับชั้นสองคือมีเบาะรองนั่ง ชั้นสองไม่มีเบาะ ค่าโดยสารรถรางชั้นหนึ่งสมัยนั้นคือ 30 สตางค์ตลอดสาย ส่วนชั้นสองเก็บเพียง 25 สตางค์หรือที่เรียกว่า 1 สลึง สมัยนั้นนิยมเรียกเงินเศษหนึ่งในสี่ของบาทเป็นสลึง เช่น 1 สลึง 2 สลึง และ 3 สลึงซึ่งนอกจากจะหมายถึงเงินมูลค่า 75 สตางค์แล้วยังหมายถึงคนที่มีสติไม่ดีอีกด้วย สมัยนั้นนิยมเรียกคนสติไม่ดีว่าคนสามสลึงหรือคนไม่เต็มบาท คนขับรถรางและคนเก็บค่าโดยสารล้วนเป็นชายที่ค่อนข้างจะมีอายุ แต่งเครื่องแบบสีกากีเรียบร้อยแถมใส่หมวกหนีบสีเดียวกัน คนเก็บค่าโดยสารจะมีกระเป๋าสี่เหลี่ยมทำด้วยหนังห้อยพาดบ่าไว้เป็นที่ใส่กระบอกตั๋วและเงินค่าโดยสารที่เก็บได้ เข้าใจว่ากระเป๋านี้เองที่กลายมาเป็นคำเรียกคนเก็บค่าโดยสารรถเมล์ในภายหลัง
ที่ถือเป็นของแถมในการนั่งรถรางและมีชุกชุมทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสองคือสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “ตัวเรือด” เด็ก ๆ ที่นุ่งกางเกงขาสั้นนั่งรถรางเป็นต้องถูกตัวเรือดกัดกินเลือดจนขาอ่อนด้านหลังแดงเป็นปื้นไปตาม ๆ กัน รถรางจะวิ่งไปตามรางโดยมีจุดกำหนดให้รถขาขึ้นและขาล่องวิ่งสวนกันได้เรียกว่า “หลีก” ในสมัยนั้นยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมความเร็วของรถได้เหมือนรถไฟฟ้าในสมัยนี้ รถรางที่วิ่งขึ้นล่องสวนทางกันจึงมักมีความเร็วไม่ประสานคงที่กัน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รถขาขึ้นหรือล่องจะต้องจอด “รอหลีก” จนกว่ารถอีกขาหนึ่งจะวิ่งสวนมา คนที่นั่งรถรางในสมัยก่อนจึงต้องเป็นคนที่ใจเย็นและมีความอดทนสูง สามารถนั่งหรือยืนรถรอหลีกได้เป็นระยะเวลานาน ๆ
เวลารถรางวิ่งเข้าหลีกจะมีเสียงรางเหล็กที่เป็นข้อต่อดัง “ก๊ง ๆ” เด็ก ๆ อย่างพวกฉันนอกจากจะเล่นสนุกกับรถรางด้วยการวิ่งไล่เกาะรถรางที่ชะลอความเร็วเพื่อเข้าหลีกแล้ว ยังใช้รถรางเป็นเครื่องมือในการทำของเล่นเช่นทับฝาเบียร์ และทับห่อแก้วเพื่อนำไปทำป่านคมเก็บไว้เล่นว่าวในหน้าว่าวได้อีกด้วย ป้ายรถรางทำด้วยเหล็กเป็นรูปธงสามเหลี่ยมทาสีแดงสดมีสัญลักษณ์เป็นดาวสีขาวอยู่ตรงกลางติดไว้กับเสาไฟฟ้าในระดับสูงจากพื้นดินราวสามเมตร รถรางเป็นรถที่ไม่มีแตรแต่จะใช้กระดิ่งขนาดใหญ่เสียงดัง “เป๊ง ๆ” แทน คนขับจะใช้เท้าเหยียบกระเดื่องเพื่อไปตีกระดิ่งที่ติดตั้งไว้ใต้ตัวรถอีกทีหนึ่ง ด้วยความซุกซนเด็ก ๆ จะแอบมุดเข้าไปใต้รถรางที่จอดรอหลีกอยู่แล้วดึงกระดิ่งแล้วพากันวิ่งหนีเป็นที่สนุกสนาน เด็กคนใดที่กล้ากระทำการดังกล่าวจะถือว่าเป็นผู้กล้าหาญและจะได้รับการยกย่องยินดีจากเด็กอื่นในกลุ่มในความเก่งกล้าสามารถนั้น
ส่วนรถเมล์ในสมัยก่อนนั้นมีไม่มากสายเหมือนในสมัยนี้ ทั้งหมดเป็นของเอกชน ที่มีมากและที่เห็นกันจนเจนตาที่สุดคงจะเป็น รถเมล์ขาวหรือรถเมล์ “นายเลิศ” ตัวรถมีสีขาว คนขับและกระเป๋าก็ใส่เครื่องแบบสีขาวสะอาดตา คนสมัยนั้นจะเรียกรถเมล์ตามสีของรถ เช่น รถเมล์ขาว รถเมล์แดง รถเมล์เขียว รถเมล์เหลือง หรือ รถเมล์เทา เป็นต้น บรรยากาศในการนั่งรถเมล์จะเล่าให้ฟังในภายหลัง
จากคุณ : แมงกะพรุน - [18 เม.ย. 45 04:27:48]
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นเรื่องที่มีสาระมาก มีคุณค่าในตัวเอง มองเห็นเงาอดีตชัดเจน รออ่านตอนต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ
จากคุณ : GTW - [18 เม.ย. 45 10:57:56]
ความคิดเห็นที่ 2
อ่านแล้วทำให้นึกถึงสมัยเด็กๆ จังเลยค่ะ อย่างเกมโอน้อยออก ไม่รู้ว่าเด็กสมัยนี้จะรู้จักกันหรือเปล่า แต่ก็เกิดไม่ทันรถราง รถเมล์นายเลิศค่ะ ได้ยินแต่แม่เล่าให้ฟัง ^_^
ทำลิงก์ตอนแรกให้ค่ะ
http://pantip.inet.co.th/cafe/writer/topic/W1436965/W1436965.html
จากคุณ : O-HO - [18 เม.ย. 45 11:22:19]
ความคิดเห็นที่ 3
ชอบความเรียงนี้มากค่ะ รออ่านต่อนะคะ (นึกถึงหมี่ผัดใส่กระทงใบตองสมัยเป็นเด็กจัง ห่อละบาทหรือห้าสิบสตางค์นี่แหละค่ะ แล้วก็นึกถึงฝาเบียร์ ฝาน้ำอัดลมด้วย แต่เราเก็บไว้เล่นหมากฮอส อิอิ )
จากคุณ njl - [18 เม.ย. 45 12:55:10]
ความคิดเห็นที่ 4
มีนางเงือกน้อยด้วยอ่ะ เคยเล่นป่ะคะ เก่งจังเลยนะคะ ยังจำตอนเด็กๆ ได้อีก ตอนนี้เรายังลืมๆ ไปแล้วเลย นานๆ จะได้นึกขึ้นมาได้ที : )
จากคุณ : monki - [18 เม.ย. 45 19:46:23]
ความคิดเห็นที่ 5
อ่านแล้วนึกถึงตอนยังเป็น เดะเละๆอยู่
จากคุณ : Licht (Miran) - [18 เม.ย. 45 19:59:11]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น